หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สานพลังประชารัฐเพื่อการพัฒนา ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ

สานพลังประชารัฐเพื่อการพัฒนา
ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ
**นางสาวอรจิรา  สุวรรณมาลี
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
โครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) หนึ่งในคณะสานพลังประชารัฐจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการบูรณาการความร่วมมือ ภาคส่วน ระหว่าง ภาครัฐ  ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ผ่านวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางประชารัฐ  ในการลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่อยอดสู่พันธกิจในการสร้างเยาวชนที่สามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาอย่างตรงจุด เป็น เด็กดี - เด็กเก่ง” โดยคณะทำงานได้ส่งเสริมโรงเรียนประชารัฐในระยะแรก  3,351 โรงเรียน ครอบคลุม 225 เขตพื้นที่การศึกษา ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ภายใต้โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน หรือ CONNEXT ED เพื่อการยกระดับการจัดการศึกษาไทยสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อ่านเพิ่มเติม

กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กสู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียน

กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กสู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียน
นางจงกลนี  ห่วงทอง
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
          เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนโรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี  ปัจจุบันเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  ซึ่งมีโรงเรียนทั้งหมด จำนวน ๑๗๐ แห่ง  จำแนกเป็นโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑ จำนวน ๑๐๔ แห่ง  และเป็นโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๒ จำนวน ๖๖ แห่ง  โรงเรียนดังกล่าวเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า ๑๒๐ คน ประชาชนและผู้ปกครองนักเรียนมักจะมีคำถามและข้อสงสัยในคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กตลอดมา อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การประเมินการอ่านออกเขียนได้ ปีการศึกษา 2559


รายงานผล
การประเมินการอ่านออกเขียนได้ ปีการศึกษา 2559
นายนิรุทธิ์ อุทาทิพย์ ศึกษานิเทศก์
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีคุณภาพอันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้มีความเข้มแข็งในทุกด้านคือคุณภาพการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในระดับชั้นประถมศึกษา นักเรียนที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๔ ซึ่งเป็นระดับชั้นที่ต้องมีพื้นฐานด้านการอ่านออกเขียนได้ที่จะต้องใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนระดับชั้นต่อๆไป ควรจะต้องอ่านออกเขียนได้ตามมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนด และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในฐานะหน่วยงานหลักที่ต้องกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำเป็นต้องมีข้อมูลคุณภาพนักเรียนโดยรวมเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและวางแผนดำเนินโครงการที่เหมาะสม อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายที่จะสร้างความเข้มแข็งด้านการอ่านเขียนให้แก่นักเรียนประถมศึกษาอย่างจริงจัง จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ ดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน 2 ครั้ง คือ ปลายภาคเรียนที่ ๑ และปลายภาคเรียนที่ ๒ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๔ ประเมินเฉพาะปลายภาคเรียนที่ ๒ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบทดสอบวัดสมรรถนะนักเรียน ๓ ด้าน คือ อ่านออก อ่านรู้เรื่อง และเขียนได้ และได้จัดทำคู่มือแบบทดสอบ การอ่านออกเขียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ๔ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้มีมาตรฐาน ผลการประเมินเป็นที่เชื่อถือได้ สามารถนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปวางแผนแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพนักเรียนในระดับชั้นต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรม PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

LOGBOOK

KM คืออะไร